“ดวงดี” หรือ “รู้ดี”

Last updated: 16 ต.ค. 2563  |  1206 จำนวนผู้เข้าชม  | 

“ดวงดี” หรือ “รู้ดี”

“ดวงดี” หรือ “รู้ดี” คุณจะเลือกอะไร

ใคร ๆ ก็ลุ้นตัวเลขกันช่วงต้นเดือน และกลางเดือนกันทุกคน
ปีนึง ก็ 24 งวดได้ ซึ่งลุ้นกว่าเรื่องความรักเสียอีก
เพราะดูแล้วนอกจากจะให้ความหวังแล้ว ก็น่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีเช่นกัน (ถ้าถูก)

ในมุมธุรกิจ อยากเฮง อยากเติบโตบางครั้งต้องอาศัยดวงซึ่งแล้วแต่ความเชื่อความศรัทธาในแต่ละบุคคล
ตอนนี้ฮิตๆ ไม่ว่าจะเป็น พี่ไข่ เจ้าแม่เรือทอง ถ้ำนาคา

แต่ในช่วงนี้ เศรษฐกิจแบบนี้ จะรอหวังพึ่งพาดวง หรือการสักการะอย่างเดียวก็อาจไม่เพียงพอ
เงินที่มีอยู่ก็ต้องใช้อย่างประหยัด มีมากน้อยก็คิดแล้วคิดอีกก่อนจะควักใช้ และต้องเอาตัวรอดให้นานที่สุด

แต่ผมเชื่อว่าคนที่ “รู้ดี” หมายถึง มีความรู้ดี รู้วิธีที่เหมาะสม และรู้ว่าจะใช้สิ่งที่มีค่าอย่าง “ข้อมูล”
มาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร สามารถตัดสินใจ หรือแก้ปัญหาทางธุรกิจได้ รวมถึงเรื่อง การลงทุน

หลายธุรกิจในขณะนี้ มองว่าควรชะลอหรือพักเรื่องการลงทุนไว้ก่อน
เพราะต้องเก็บเงินไว้ให้นานที่สุด จนกว่าสภาวะเศรษฐกิจจะกลับมา

แต่ในมุมมองของผมกลับมองว่า ตอนนี้แหละที่เจ้าของธุรกิจหลายคนกลับต้องใช้เวลาคิดเชิงวิเคราะห์
แทนการปล่อยให้ธุรกิจอยู่อย่างไม่ครึกครื้น

คิดอย่างไรดีหละ?

ลองคิดโดยการแยกแยะองค์ประกอบของข้อมูลให้ลงมาอยู่ในส่วนย่อยได้ และสามารถหาความสัมพันธ์
ของข้อมูลย่อยนั้นเพื่อไปใช้ต่อในการตัดสินใจต่าง ๆ

อย่างเรื่องรายได้ หากเรานำรายได้ที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์โดยแยกองค์ประกอบในหลายรูปแบบ
เราจะเจอว่า โมเดลทางธุรกิจเราจะต้องปรับอย่างไร

แยกรายได้ตามผลิตภัณฑ์ / ราคาขายตามผลิตภัณฑ์ / จำนวนของแต่ละผลิตภัณฑ์
แยกรายได้ตามช่องทางการจำหน่าย / สาขา / โซน หรือ สถานที่
แยกการชำระเงิน / ระยะเวลาในการชำระ / ช่องทางการชำระ / แหล่งที่มาของการชำระเงิน

เรื่องค่าใช้จ่ายก็เช่นกัน
แยกต้นทุนและค่าใช้จ่ายตามประเภท / แยกตามกลุ่ม Supplier / แยกตามหน่วยธุรกิจ หรือ
แยกตาม ผลิตภัณฑ์ แล้วอาจจะเริ่มเห็นว่า กำไรขั้นต้น ในรายย่อยเป็นอย่างไร และมองว่า
เรายังต้องขายหรือให้บริการสิ่งเหล่านั้นหรือไม่

การลงทุนจากเงินในมือ
เงินที่เหลือ อาจต้องแยกออกมาว่ามีภาระเท่าไหร่ เหลือใช้เท่าไหร่ เงินนั้นอยู่ในรูปแบบใด
เงินสำรองที่มีอยู่เพียงพอต่อรายได้และค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้น แหล่งเงินทุนที่มีอยู่ในปัจจุบัน
มาจากแหล่งใดและสัดส่วนใด ผลตอบแทนที่ต้องการ

จากนั้น ลองนำสิ่งแยกแยะนั้น
แล้วลองหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
แล้วคุณอาจจะ “รู้ดี” และเห็นคำตอบ
จากข้อมูลเหล่านั้น

ล่าสุด ไปช่วยผู้ประกอบการทางภาคเกษตร วิเคราะห์ไปมามีเงินเข้าเรื่อยๆ ก็คิดว่าได้กำไร
ที่ไหนได้ราคาขายเท่ากับต้นทุนพอดี

เพื่อเพิ่มทักษะของการ “รู้ดี” ของเจ้าของกิจการ การคิดแบบ “วิเคราะห์” ลงในตัวเลขและข้อมูล
จะช่วยธุรกิจคุณได้อย่างมากเลย ผมเชื่อ

อ่า..วันนี้ วันที่ 16
จะพึ่งดวง หรือ วิเคราะห์ ดีล่ะ?

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้